สมาธิสั้น
ลูกเราเป็น สมาธิสั้น ไหมนะ?
1.คำจำกัดความ
คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 12 ปี) เกิดจากความผิดปกติของสมอง เป็นภาวะที่เด็กมีปัญหาเรื่อง
- ซน
- อยู่ไม่นิ่ง
- หุนหันพลันแล่น
- ขาดสมาธิ
จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมและการเรียนรู้ โดยเด็กวัยเรียนจะพบได้บ่อยสุด
2.วิธีแยกระหว่างซนทั่วไป VS ไม่นิ่ง Hyperactive
**ภาวะซน Hyperactivity ไม่ใช่โรค**
-ภาวะซนเกิดขึ้นได้ตามอายุทั่วไปของเด็ก
-ความชนจะเริ่มลดลงตามอายุเมือโตขึ้น ประมาณ4-5ขวบ
เช่นเด็กอายุ 3ปี มีอาการ
-ร้องไห้อาละวาดขัดใจ
-อาจเป็นพฤติกรรมตามวัยสำหรับวัยนี้ได้
**โรคสมาธิสั้น ADHD**
-ต้องมีอาการขาดสมาธิหรืออาการอยู่ไม่นิ่งหุนหันพลันแล่น ที่เป็นมากกว่าพฤติกรรมตามปกติของเด็กทั่วไป
-เกิดขึ้นทั้งที่บ้านและโรงเรียน หรือ ทุกสถานที่
-ทำให้เกิดปัญหาในด้านสังคม,การเรียน
-โดยอาการดังกล่าวเริ่มปรากฎตั้งแต่ก่อนอายุ 12 ปี
3.สถิติจำนวนการเป็นในปัจจุบัน
โรคซน สมาธิสั้น พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยปัจจุบันพบประมาณ 5-8 % ในเด็กวัยเรียน โดยเด็กชายพบมากกว่าเด็กหญิงประมาณ 5 เท่า และพบในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 5.29 %
4.สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดอาการ แต่สามารถแบ่งสาเหตุความน่าจะเป็นที่ทำให้เกิดได้ดังนี้
4.1 ปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักถึงร้อยละ 76
4.2 ปัจจัยทางชีวะภาพ ความผิดปกติของสารสื่อประสาท ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ การยับยั้งชั่งใจที่ลดลง
4.3 ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาในการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม การคลอดก่อนกำหนด และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น
5.วิธีการรักษา การรักษาที่ได้ผลคือการรักษาแบบผสมผสานกันระหว่างการรักษาหลายแนวทาง คือ
– การรักษาด้วยยา
– การปรับพฤติกรรมและการปรับสิ่งแวดล้อม
– ใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเชิงบวก ได้แก่ เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของลูก ชมเชย ให้รางวัล
– ปรับทัศนคติของคุณพ่อคุณแม่ต่อลูกที่เป็นโรคซน สมาธิสั้น ให้เป็นบวก ให้กำลังใจลูกในการพัฒนาตัวเอง
– จัดที่นั่งหน้าชั้นหรือใกล้คุณครูมากที่สุด ให้ไกลจากประตูหน้าต่าง
– ใช้วิธีเตือนไม่ให้เด็กเสียหน้า ไม่ดุว่าหรือลงโทษรุนแรง
6.การใช้ยา
การรักษาด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคซนสมาธิสั้นที่ได้ผลดีที่สุดที่มีในประเทศไทย คือ กลุ่ม Methylphenidate ซึ่งมีทั้งแบบที่ออกฤทธิ์สั้น ที่ต้องกินวันละ 2-3 ครั้ง และแบบที่ออกฤทธิ์ยาวที่สามารถกินวันละ 1 ครั้งได้ โดยยาจะออกฤทธิ์ไปยับยั้งการทำลายสารเคมีในสมอง (ที่เด็กมีน้อยกว่าปกติ) ช่วยให้เด็กมีความจดจ่อในการทำงานมากขึ้น คงสมาธิได้ยาวขึ้น เรียนหนังสือได้ดีขึ้น ซนน้อยลง สามารถควบคุมตัวเองและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
7.นักกิจกรรมบำบัดฝึกอย่างไรในเด็กที่มีปัญหานี้
· ให้การบำบัดในปัญหาสมาธิ การควบคุมตนเอง และการเคลื่อนไหว
· ส่งเสริมทักษะพื้นฐานในด้านความรู้คามเข้าใจ เช่น ช่วงความสนใจ
· ส่งเสริมทักษะทางสังคมและอารมณ์ เช่น การรับรู้บทบาทของตนเอง การบริหารเวลาในการทำกิจกรรม
· การปรับสิ่งแวดล้อมและการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองและครู
อ้างอิง
อ. รุจิรา ใจแก้ว ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดจากโรคหรือความผิดปกติทางสุขภาพที่พบบ่อยในงานกิจกรรมบำบัด